หากจะพูดถึงอดีตอันหอมหวลของบริการดาวเทียมสักบริการนั้น หนึ่งในบริการที่เราจะนึกถึงก็คือบริการ VSAT หรือ Very Small Aperture Terminal บริการนี้เป็นบริการสื่อสารผ่านดาวเทียม โดยเน้นไปที่การให้บริการเสียง (Voice), บริการภาพ (ฺVideo), การให้บริการข้อมูล (Data) รวมไปถึงการให้บริการอินเทอร์เน็ต (internet) ในอดีตนั้นรูปแบบการใช้บริการ VSAT จะเป็นลักษณะการติดต่อกันของบริษัทแม่ (Head Quater) กับบริษัทสาขา (ฺBranch) ซึ่งตอนหลังการสื่อสารรูปแบบนี้เริ่มถูกแทนที่ด้วยการสื่อสารผ่านโครงข่าย Fiber Optic

จุดเด่นที่ยังคงทำให้บริการ VSAT มีส่วนแบ่งการตลาดอยู่บ้างในปัจจุบันเนื่องมาจากยังมีพื้นที่ที่การสื่อสารผ่านระบบ Fiber Optic เข้าไม่ถึงถึงเช่น พื้นที่ทะเล หรือพื้นที่ห่างไกล (Remote Area) และสามารถให้บริการได้ครอบคลุมพื้นที่อย่างกว้างขวาง รวมไปถึงจุดเด่นที่สำคัญคือบริการ VSAT สามารถติดตั้งได้อย่างรวดเร็ว และมีองค์ประกอบในบริการจำนวนน้อย (Less Infrastructure)
รูปแบบการใช้งาน VSAT ในปัจจุบันจึงเปลี่ยนไปโดยการเน้นไปที่การบริหารจัดการ Resorce ของบริษัท เช่นการ tracking ระบบเรือขนส่งสินค้า และการใช้งาน VSAT เพื่อเป็นวงจรสำรองของระบบสื่อสาร
องค์ประกอบหลัก ๆ (Infrastructure) ของ VSAT ประกอบด้วย
- ช่องสัญญาณดาวเทียม (Satellite Transponder)
- HUB Earth Station
- จานสายอากาศ (A Dish Antenna)
- A transceiver (or a combination of BUS and LNB)
- Satellite modem
- VSAT Terminal
- จานสายอากาศ (A Dish Antenna)
- A transceiver (or a combination of BUS and LNB)
- Satellite modem
ลักษณะโครงข่ายของ VSAT จะแบ่งออกด้วยกัน 4 ลักษณะ (อ้างอิงตาม ITU)
- Star Topology
- Mesh Topology
- Hybrid Topology
- Point to Point
เนื่องจากข้อจำกัดของ Transponder บริการ VSAT จึงจำเป็นต้องบริหารจัดการช่องสัญญาณดาวเทียมให้เหมาะสมกับ Topology ที่เลือกใช้ โดยทั่วไปแล้ว Topology แบบ Point to Point จะใช้การจัดการช่องสัญญาณแบบ SCPC (Single Channel Per Carrier) คือการเหมาช่องสัญญาณเพื่อใช้สำหรับจุด 2 จุดนี้เท่านั้น ในขณะที่ Topology แบบ Star Mesh และ Hybrid นั้น จะบริหารช่องสัญญาณแบบ MCPC (Multi Chann